การเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic

 Control ใน Visual Basic (ตอนที่ 1)

    โพสนี้จะมาทำความรู้จักกับ Control  เพื่อใช้ในการออกแบบ GUI (Graphic User Interface) แบบง่าย ๆ โดยเราจะมารู้ 5 Control คือ 

                                     1. Button

                                     2. Label

                                     3. TextBox

                        4.  ReadioButton 

                         5.  Checkbox 

 รู้จักกับ Button Label และ TextBox

มาดู Property สำหรับ Control (ปุ่มที่อยู่ด้านซ้าย) ซึ่งแต่ละตัวจะมีชื่อเรียกต่างกัน



1.       เลือก Button/สามารถปรับขนาดได้/คลิก form/ปรับความกว้าง,ยาว หรือเลือกปรับได้ที่ Property

2.       เราสามารถ จัดกลุ่มคุณสมบัติ (Property) ได้  2 แบบ ขึ้นอยู่กับเราว่าจะจัดเรียงแบบใด เช่น แบบเรียงตัวอักษร หรือแบ่งตาม Categorize คือจัดแบบกลุ่ม

3.       คุณสมบัติที่สำคัญคือ ชื่อ  โดยชื่อของทุก Control ส่วนใหญ่จะเป็น Text  ทดลองปรับชื่อตั้งชื่อใหม่ (กด F5)


4.       ชื่อจริง ๆ ของปุ่ม Button ให้ไปกำหนดที่ Property/Name ซึ่งเราจะนำชื่อนี้ไปใช้ในการทำงาน


5.       กรณีที่ต้องการปรับลักษณะของการวางตำแหน่งไปที่ Property /Location X Y


6.       ทดลองนำปุ่ม Button มาอีก 1 ปุ่ม จะสังเกตว่าจะมีการจัดเรียงให้มีขนาดเท่ากันทำให้วางปุ่มได้ง่ายขึ้น

7.       ถ้าต้องการจะเปลี่ยนสีให้ไปที่ Property/Back Color

8.       ทดลองเปลี่ยน Font Label


9.       ปรับสี label ให้เป็นสีขาว


10.       เลือก Font/Image

11.       Label/ที่ Auto Size ถ้าปรับเป็น True ข้อความมีมากว่านี้จะปรับให้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเลือก False (สร้างขอบเขตขึ้นเอง) 


การใช้คอนโทรล Text Box

        Text Box คือ Control ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล หรือรับ Input 


12.  Text Box สามารถที่จะเลือกที่จะไม่ให้แสดงผลก็ได้ ซึ่งโดยปกติ ช่องรับค่าต้องให้แสดงผล อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการให้ไม่แสดง ให้ไปที่ Property  ที่ Visible จะมีการกำหนดไว้  2 ค่า คือ True และ False = ซ่อน


ทดลองกด F5 สังเกตว่าจะไม่เห็น Text Box

13.     Enabled คือให้ทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้ True/ False

 True ทำงานได้ และ False ทำงานไม่ได้ 


14.    Maxlength คือการปรับรูปแบบข้อความที่จะพิมพ์ลงไป เช่น กำหนดใส่ค่าลงไป 5 ก็จะ         สามารถพิมพ์ข้อมูลได้เพียง 5 ตัวอักษร

15.    กด F5 ทดลองพิมพ์ตัวเลข จะสามารถพิมพ์ได้ 5 ตัว ถ้าใส่เกิน จะมีเสียงเตือนให้ทราบ



            16. กรณีที่ต้องการให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ให้ไปกำหนดที่ Multiline/ มีให้กำหนดคือ False และ True 

17. แต่ที่หน้าจอออกแบบจะมีปุ่มสามเหลี่ยม เมื่อคลิกเข้าไปให้ไปทำการคลิกเครื่องหมายถูกที่ Multiline ซึ่งจะให้ผลลัพธ์เหมือนกัน 

การสร้างโปรแกรมโดยใช้ RadioButton และ Checkbox ตอนที่ 1

ในหัวข้อนี้จะทำการสร้างโปรแกรม โดยใช้ Control RadioButton  และ Checkbox

โดยเราจะให้เลือกเพศ ชาย หญิง การเลือกอาชีพ จะมีหลายคอนโทรล ในที่นี้ให้ทำการออกแบบหน้าจอตามด้านล่างนี้ 

วิธีทำ

1.       คลิก New Project  ที่ Name ให้ตั้งชื่อว่า Test Program คลิก  OK 



                2.ที่หน้า Form ปรับขนาดเพื่อใช้ในการออกแบบ
       

    3.  เลือก RadioButton หลักการทำงานของ Radio button1 และ RadioButton2  โดยทำงานของ RadioButton จะเลือกได้เพียง 1 เท่านั้น

4.       เลือก CheckBox1 และ CheckBox2

5.       เลือก label เพื่อใช้ในการแสดงผล

6.       เลือก Button1

7.       ทำการเปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการแสดงผลใน Form

Radiobutton1 = ที่ Property Name = Radiobutton1 ให้ใช้ชื่อเดิม

                                       Text = ชื่อใช้ในการแสดงผลเปลี่ยน Male

Radiobutton2 = ที่ Property Name = Radiobutton2 ให้ใช้ชื่อเดิม

                                       Text = ชื่อใช้ในการแสดงผลเปลี่ยน Female

8.       Label1   Name = Label1

            Text   = เปลี่ยนเป็น Your Data        

9.       CheckBox1  ที่ Property  / Text = Engineer

CheckBox2  ที่ Property /  Text = Teacher 

10.       หลักการกระทำของตัว Control ต่าง ๆ จะให้ทำแบบง่าย ๆ คือตรวจสอบว่า ให้มีการเช็คหรือไม่มีการเช็ค ซึ่งจะมีคำสั่งที่คล้ายกันและซ้ำ ๆ กัน

11.       ปุ่ม Button1  ที่ Property/ Text = OK

12.       ปุ่ม Button1  ที่ Property/ Text = OK

13.       ทดลอง Preview (F5)

14.       กรณีที่จะใช้งานปุ่ม OK  เราต้องการให้เลือกการแสดงผลของ Male และ Female

มีขั้นตอน คือ 1. Male หรือ Female

2. ปุ่ม OK จะไม่แสดงผล จนกว่าจะได้ทำการเลือก RadioButton

15.      ให้คลิกที่ Form (double Click)  จะเปิด Form Load ขึ้นมา เราจะให้ปุ่ม Button ไม่แสดงผล จนกว่าจะมีการคลิกใส่คำสั่ง 


16.       กด F5 สังเกต OK จะไม่ทำงาน จนกว่าจะมีการคลิก Male หรือ Female 

17.      กลับมาที่ส่วนของ VB design ถ้าเราจะจัดการกับส่วนไหนก็ให้ double Click ที่ส่วนนั้น


18.       ทดลอง Run จะพบว่าถ้าเราคลิก เพื่อเปิดฟอร์มขึ้นมาและไม่ต้องการให้มีการเลือกใน RadioButton คือถ้าหากมีปุ่มหลายปุ่ม มันจะสามารถคลิกเลือกได้แค่ปุ่มเดียวเท่านั้น

19.       ให้ทำการคลิกเลือก Male ที่ Property  /ที่ AutoCheck ให้เลือกเป็น False เพื่อไม่ให้แสดงผล

20.       ให้ทำการคลิกเลือก Female ที่ Property /ที่ AutoCheck ให้เลือกเป็น False เพื่อไม่ให้แสดงผล


21.       กด F5 เพื่อดูผลลัพธ์ จะไม่แสดงผล และเลือกไม่ได้


22.       จากนั้นให้ปิดฟอร์ม กลับไปที่หน้า Design ให้เปลี่ยนสลับกลับ จาก false เป็น True ทั้ง 2 คือMale และ Female

23.       กด F5 จะเป็นได้ว่าเราจะสามารถใช้ปุ่ม Male และ Female ได้แล้ว 

24.       ในกรณีที่เราต้องการให้ปุ่ม OK แสดงผลด้วย เราต้องเช็คว่า ทั้ง  2 ปุ่มถูกเช็คหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เราทำต้องคือดูโค้ดแต่ละตัว ถ้า RedioButton1 มีการคลิกส่วนของแสดงผล จะให้ Button1 คลิกได้ คือแสดงผลเป็น True

25.       ไม่ว่าปุ่มใดปุ่มหนึ่งถูกคลิก Male หรือ Female ปุ่ม OK จะทำงาน


26.       ทดลองผลกด F5 /คลิก Male จะเห็นว่าปุ่ม OK ทำงาน


27.       ต่อไปเราจะไปกำหนดที่  CheckBox ที่ Engineer หรือ Teacher จะให้เกิดชื่อขึ้นมา เราต้องการให้ label แสดงผล ส่วนที่ใช้ในการแสดงผล คือ Text เราต้องการให้ Text เป็น Engineer ในตำแหน่ง Your Data (Double Click ที่ Engineer และเขียนโค๊ด) 





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสร้างฟอร์ม ด้วยโปรแกรม Access ตอนที่ 2 การใส่รูปบนฟอร์ม

การสร้างแบบสอบถาม (Query) ใน Access

วิธีสร้างฟอร์ม ด้วย Access โดยใช้คอนโทรล Image (ตอนที่ 5)